วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

การใช้งานพรินเตอร์ระดับพื้นฐาน

ที่มา http://www.srisamut.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538733940

การลงไดรเวอร์


ไดรเวอร์ (Driver) เป็นซอฟท์แวร์ตัวหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง Windows กับอุปกรณ์ที่นำมาต่อเพิ่ม เช่น พรินเตอร์ โมเด็ม การ์ดจอ การ์ดเสียง เป็นต้น ดังนั้นเวลาซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ อย่าลืมเรียกหาแผ่นไดรเวอร์จากผู้ขาย และต้องเก็บรักษาไว้อย่างดีด้วย อุปกรณ์บางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องลงไดรเวอร์ เพราะมี ใน Windows อยู่แล้ว เช่น จอภาพ เม้าส์ คีย์บอร์ด แฮนดี้ไดรฟ์ ซีดีรอม ไดรฟ์เอ. เป็นต้น


พรินเตอร์รุ่นเก่าๆ บางตัวมีอยู่ในวินโดวส์อยู่แล้ว แต่พรินเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักต้องลงไดรเวอร์ ซึ่งมาในรูปของแผ่นซีดี บางรุ่นรวมมากับคู่มือการใช้งาน แต่บางรุ่นแยกต่างหากอีกแผ่น ดังนั้นถ้าพบว่ามีแผ่นซีดีมากับพรินเตอร์มากกว่า 1 แผ่น ต้องดูให้ดีว่าแผ่นไหนเป็นแผ่นไดรเวอร์ และบางทีก็มีเพิ่มมาอีกแผ่น เป็นไดรเวอร์สำหรับวินโดวส์ วิสต้า


การลงไดรเวอร์พรินเตอร์ มี 2 แบบ


การลงไดรเวอร์แบบที่ 1 เป็นแบบที่ผู้ผลิตแนะนำ คือการเสียบสาย USB (อ่านว่า ยู-เอส-บี) เมื่อซอฟท์แวร์สั่งให้เสียบ (เสียบ USB ทีหลัง) วิธีการคือ นำเครื่องพรินเตอร์ออกมาจากกล่อง แกะสติ๊กเกอร์หรือกระดาษที่ล็อคฝาหรืออุปกรณ์ที่ปิดไว้เพื่อความปลอดภัยในการขนส่งออกเสียให้หมด เสียบสายไฟ เปิดสวิทช์ให้เรียบร้อย (ยังไม่ต้องใส่ตลับหมึกก็ได้) นำแผ่นไดรเวอร์ใส่ในไดรฟ์ รอสักครู่ โปรแกรมจะเปิดขึ้นมาอย่างอัตโนมัติ ถ้าโปรแกรมไม่เปิดเอง ให้เข้าไปดับเบิ้ลคลิก ที่ไดรฟ์ใน Mycomputer และดำเนินการไปตามคำแนะนำที่หน้าจอ เมื่อถึงขั้นที่หน้าจอบอกให้เสียบสาย USB ก็ให้ทำตาม และคลิกไปเรื่อยๆ จนเสร็จ ถ้าเป็นการลงแบบง่าย (ใน Canon หรือ Epson) จะลงไดรเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่จำเป็นให้ทั้งหมด


ดูตัวอย่างการลงในลักษณะนี้ คลิก


การลงไดรเวอร์แบบที่ 2 หรือวิธีเสียบสาย USB ก่อน แล้วให้วินโดวส์ค้นหาเอาเองจากแผ่นไดรเวอร์ วิธีการคล้ายแบบที่ 1 แต่เสียบสาย USB ได้เลย เมื่อเสียบสาย USB แล้ว ที่มุมขวาของจอภาพจะมีบอลลูนแจ้งว่า Found New Hardware และมีหน้าต่างให้คลิก Next ไปเรื่อยๆ ข้อควรระวังก็คือ เมื่อโปรแกรมในแผ่นไดรเวอร์เปิดเองโดยอัตโนมัติ ให้ปิดเสีย วิธีการนี้จะเป็นการลงไดรเวอร์เพียงอย่างเดียว บางรุ่นจะบังคับให้ลงซอฟท์แวร์ที่จำเป็นด้วย แต่บางรุ่นก็ไม่บังคับ (ยกเลิกการลง ก็ใช้งานได้) หากต้องการลงซอฟท์แวร์(ที่มากับแผ่นไดรเวอร์)เพิ่มเติม ให้ลงในภายหลังได้ การลงแบบนี้มักใช้กับ HP หรือ Lexmark คลิก เพื่อดูตัวอย่าง


หลังจากที่ลงไดรเวอร์เสร็จแล้ว เข้าไปที่หน้าต่างพรินเตอร์ (Start / Setting / Printers & Faxes) จะพบไอค่อนของพรินเตอร์ตัวที่ลงไดรเวอร์ เช่น Epson Stylus C58 Series 0 Ready


0 แปลว่าไม่มีงานค้างใดๆ ส่วน Ready แปลว่าพร้อมใช้งาน ถ้าพบว่าไอค่อนของพรินเตอร์เป็นเช่นนี้ ก็ใช้งานได้เลย


ดูภาพประกอบ



ถ้าคอมพิวเตอร์ต่อพรินเตอร์ไว้หลายเครื่อง ถ้าเป็นรุ่นเดียวกัน ไอค่อนของตัวที่ลงทีหลัง จะมีคำว่า Copy 1 หรือ 2 หรือ3... ต่อท้ายตามลำดับ เครื่องที่เป็น Default หรือเครื่องมีเครื่องหมายถูก อยู่ด้วย (ตามภาพคือ Brother DCP-150C) จะเป็นตัวที่สั่งพิมพ์ด้วยเครื่องหมายพรินเตอร์ บน Toolbar ได้เลย หากต้องการให้เครื่องใด เป็นตัว Default ให้ทำดังนี้


คลิกขวาที่ไอค่อนของตัวนั้น ในตัวอย่างคือ Brother เลือก Set as Default Printer เครื่องหมายถูก จะย้ายมาอยู่ที่ Brother



แต่หากเราต้องการให้ C58 พิมพ์เฉพาะไฟล์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้สั่งพิมพ์โดยใช้ Menubar (ตัวอย่างการใช้งานใน Word) เลือกไฟล์ / พิมพ์ แล้วเลือกพรินเตอร์ ดังภาพ



ปัญหาที่พบบ่อยคือ สั่งพิมพ์แต่เครื่องไม่ยอมพิมพ์ ทั้งที่มั่นใจว่าพรินเตอร์ไม่เสีย มาจากสาเหตุดังนี้


1. สั่งพิมพ์ผิดเครื่อง แก้ไขโดยตั้งค่า Default ให้ถูกเครื่อง ถ้าเป็นไปได้ให้ลบเครื่องที่ไม่ได้ใช้ออกไปเสีย โดย คลิกขวา Delete ถ้าเป็นเครื่องคนละยี่ห้อกับตัว Default ให้ถอดถอนไดรเวอร์ไปเลยก็ได้


2. กรณีที่มีพรินเตอร์เพียงเครื่องเดียว หรือได้ตั้งค่า Default ไว้ถูกต้องแล้ว แต่สั่งพิมพ์แล้วไม่ยอมพิมพ์ ให้ดูที่ไอค่อนในหน้าต่างพรินเตอร์ จะพบว่ามีงานค้างอยู่ หรือตรงที่เป็นเลข 0 ไม่เป็นเลข 0 (หากมีงานค้างอยู่ 1 งาน จะเป็นเลข 1 เป็นต้น) ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอค่อนพรินเตอร์ เข้าไปดูงานค้าง



แล้วลบงานค้างออกให้หมด ด้วยการคลิกขวาที่ตัวงาน คลิก Cancel และยืนยัน



ลบออกให้หมดจนว่าง ก็จะสามารถสั่งพิมพ์ต่อไปได้ หากมีปัญหาลบไม่ออก ให้ลองถอดสาย USB ออก แล้วรอสักครู่ ถ้ายังไม่ออกอีก ให้ Restart คอมพิวเตอร์ เมื่อคอมพิวเตอร์พร้อมแล้ว พรินเตอร์อาจจะพิมพ์งานที่ค้างออกมาเอง จนงานที่ค้างอยู่หมดไป ก็จะสามารถใช้งานต่อไปได้


ไม่มีความคิดเห็น: